ปรึกษาออนไลน์

‘ศัลยกรรม’ ทำให้เป็น ‘โรคซึมเศร้า’ จริงหรือ?

ปัจจุบันนี้การทำศัลยกรรมถือเป็นเรื่องธรรมชาติไปแล้ว และยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่าแต่ละคนย่อมมีเหตุผลที่ทำศัลยกรรมแตกต่างกันไป บางคนดูดีอยู่แล้ว ก็อยากดูดีขึ้นอีก หรือบางคนทำศัลยกรรมเพื่อให้ตัวเองสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ในสังคมอย่างปกติ ไม่ถูกล้อเลียนปมด้อย

ปัจจัยสุขภาพ สภาพผิว ปัญหา และ/หรือความต้องการต่างๆของคนไข้ ทำให้ผลลัพธ์จากการทำศัลยกรรมของแต่ละคนแตกต่างกัน ซึ่งแต่ละคนก็มีประสบการณ์หลังผ่าตัดที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งนอกจากอาการทางกายภาพแล้ว บางคนก็มีอาการทางจิตเวช เช่น อาการนอยด์ อาการซึมเศร้าด้วยเช่นกัน

ดังนั้นวันนี้เราจะมาดูถึงสาเหตุของภาวะซึมเศร้า หลังการทำศัลยกรรม และวิธีการป้องกันกันค่ะ

1. หลังผ่าตัดแล้วจะสวยทันที? NO!!

หลายๆคนเมื่อเห็นรูปภาพก่อน/หลังที่ทางสถานพยาบาลใช้โฆษณาก็คิดว่าหลังผ่าตัดแล้วจะออกมาสวยทันที ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลยค่ะ หลังจากผ่าตัดแล้วทุกๆคนจะมีอาการบวมช้ำมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล อีกทั้งยังมีรอยแผลที่ยังไม่หายสนิท มีไหมเย็บต่างๆ และกว่าทุกอย่างจะเข้าที่จริงๆ ก็ใช้เวลาประมาณ 6เดือน ~ 1ปีเลยด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นหลังจากผ่าตัดแล้วควรอดทนรออย่างใจเย็น ดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัดค่ะ

หากมีข้อสงสัยให้สอบถามกับแพทย์ทันที อย่าเก็บไว้คนเดียวค่ะ

2. ความคาดหวังที่มากเกินไป

เกือบ 90% เมื่อปรึกษาศัลยกรรม มักจะนำรูปถ่ายดารา หรือเซเลบมาให้แพทย์ดู และหวังว่าแพทย์จะทำออกมาเหมือนรูปที่นำมาโชว์เป๊ะๆ แต่ในความจริงแล้ว พื้นฐานโครงสร้างใบหน้า สภาพผิวของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นไม่มีทางที่ใบหน้าจะเปลี่ยนไปเหมือนคนอื่นได้ การที่นำรูปให้แพทย์ดูนั้นเป็นเพียงแนวทางว่าคนไข้ต้องการสไตล์ไหน อยากได้แบบใด

เพราะฉะนั้นควรปรึกษาแพทย์ถึงรายละเอียดต่างๆอย่างละเอียด ก่อนตัดสินใจทำศัลยกรรม

3. เชื่อมั่นในแพทย์ที่เราเลือก

แน่นอนว่าเมื่อเราตัดสินใจทำศัลยกรรมแล้ว เราก็จะหาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการทำศัลยกรรมที่เราสนใจ และหนึ่งในนั้นสิ่งที่เราให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆเลย คือ ฝีมือและประสบการณ์ของแพทย์ใช่ไหมคะ? กว่าจะตัดสินใจทำกับแพทย์ท่านไหนก็เลือกแล้วเลือกอีก ดูรีวิว ดูประสบการณ์ที่ผ่านมาของคุณหมอ เพราะฉะนั้นเราต้องเชื่อใจว่าคุณหมอจะทำให้เราสวยและดูดีขึ้นแน่นอนค่ะ

4. คนรอบข้างสำคัญที่สุด

อย่าลืมว่าแต่ละคนมีความชอบที่ไม่เหมือนกัน อะไรที่เราชอบ สำหรับบางคนแล้วอาจจะไม่ใช่ เพราะฉะนั้นไม่ควรใส่ใจกับคำพูดด้านลบต่างๆของคนรอบข้าง เช่น “หน้าเดิมสวยกว่า”, “หน้าเบี้ยว”, “หน้าบวม” ฯลฯ ควรมองหาคำแนะนำดีๆจากแพทย์ หรือคนที่มีประสบการณ์ศัลยกรรมมาก่อน จะช่วยได้ค่ะ

5. ประวัติสุขภาพต่างๆก็สำคัญ

บางคนที่เคยมีประวัติของโรคซึมเศร้า โรคBDD(Body Dysmorphic Disorder: โรคไม่ชอบรูปร่างหน้าตาตัวเอง) หรืออื่นๆ อาจรู้สึกเป็นกังวลและไม่กล้าแจ้งให้แพทย์ทราบ แต่การแจ้งประวัติให้แพทย์ทราบนั้นเป็นเรื่องที่ควรทำ ไม่ใช่เพราะแพทย์จะปฏิเสธการผ่าตัด แต่เพื่อที่แพทย์จะได้ประเมินว่าสภาพจิตใจของคุณพร้อมที่จะผ่าตัดหรือไม่ และความตั้งใจในการทำศัลยกรรมนั้นเป็นความตั้งใจจริงๆ ไม่ได้เป็นเพราะโรค

เพราะฉะนั้นควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงประวัติอาการป่วยต่างๆของคุณ เพื่อที่แพทย์จะได้ช่วยแก้ปัญหาต่างๆให้ได้ค่ะ

การทำศัลยกรรมก็เหมือนกับการผ่าตัดทั่วๆไปที่มีความเสี่ยง มีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ สิ่งที่เราควรทำนั้นคือการทำความเข้าใจถึงกระบวนการต่างๆ ก่อนและหลังผ่าตัด และทำตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อลดการเกิดปัญหาทั้งทางกายภาพ และสภาพจิตใจค่ะ

<อ้างอิง>
https://www.verywellhealth.com/the-emotional-aftermath-of-plastic-surgery-2710270
https://www.zwivel.com/blog/plastic-surgery-depression/

เรามีการใช้คุกกี้เพื่อให้คุณทำสิ่งต่างๆบนเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น คุณสามารถจัดการหรือปิดการใช้งานคุกกี้ได้ที่ ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว.
ยอมรับตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

GDPR