ปรึกษาออนไลน์

เทคนิคการศัลยกรรมจมูกสั้น ในเคสแก้ไข

จมูกสั้น หมายถึง จมูกที่สั้นเกินไปเมื่อพิจารณาจากสัดส่วนใบหน้าของบุคคลนั้น และสามารถเห็นรูจมูกมากเกินไป เมื่อมองจากด้านหน้า การศัลยกรรมจมูกสั้น เป็นการศัลยกรรมที่ยากที่สุดในการศัลยกรรมจมูกทั้งหมด เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องดำเนินการโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางจมูกที่มีความเชี่ยวชาญ เทคนิคและประสบการณ์สูง

I. สาเหตุ

จมูกสั้นนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อหลังผ่าตัด, การผ่านการศัลยกรรมหลายครั้ง และในบางครั้งอาจเกิดจากลักษณะทางกายภาพของผู้ป่วยเอง แม้ว่าพวกเขาจะไม่เคยศัลยกรรมหรือติดเชื้อมาก่อน

II. เทคนิคการผ่าตัด

เทคนิคพื้นฐานของการผ่าตัด คือ การยืด, แก้ไขตำแหน่ง และการยึดตำแหน่งของกระดูกอ่อนบริเวณปลายจมูก (lower lateral cartilages) เหมือนกับการผ่าตัดแก้ไขจมูกสั้นทั่วไป

กระดูกอ่อนปลายจมูก ควรยืดออกมาจากบริเวณ scroll, hinge complex และ membranous septum และเพื่อเป็นการยึดตำแหน่งกระดูกอ่อนที่ยื่นออกมา สามารถใช้เทคนิคยืดกระดูกอ่อนผนังกั้นโพรงจมูก หรือเสริมบริเวณช่องว่างกระดูกที่ยืดออกมา ด้วยกระดูกอ่อนหู (Derotation graft)

เทคนิคยืดกระดูกอ่อนผนังกั้นโพรงจมูก เป็นเทคนิคที่นิยมใช้บ่อยที่สุดในการศัลยกรรมจมูกสั้น

เทคนิคยืดกระดูกอ่อนผนังกั้นโพรงจมูก
(Septal extension graft)

Derotation graft เป็นอีกเทคนิคหนึ่งในการยึดความยาวของกระดูกอ่อนจมูก หลังจากที่ยืดออกมา โดยใช้กระดูกอ่อนหลังหูยึดไว้ ซึ่งเทคนิคนี้จะทำให้ปลายจมูกสามารถขยับได้ มีความนิ่มเป็นธรรมชาติ เมื่อเทียบกับเทคนิคด้านบน

เสริมบริเวณช่องว่างกระดูกที่ยืดออกมาด้วยกระดูกอ่อนหู
Derotation graft

เคล็ดลับและเทคนิคการผ่าตัด กรณีเคสแก้ไข

การศัลยกรรมจมูกหดสั้น ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของศัลยแพทย์อย่างมาก เนื่องจากมีเนื้อเยื่อแผลเป็นบริเวณรอบกระดูกอ่อนจมูก และใต้ผิวหนัง

เพื่อการแยกชั้นผิวและการยืดผิวให้ได้ผลที่ดี แนะนำให้ใช้เทคนิคการผ่าตัดเนื้อเยื่อให้มีความกว้างมากกว่า piriform aperture และการผ่าตัดเนื้อเยื่อแผลเป็น(พังผืด) แบบ dual-plane บริเวณโครงสร้างพื้นฐานและด้านบนเนื้อเยื่อ

การผ่าตัดแบบ Dual plane ในการแก้ไขจมูกพังผืดหดรัด

เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาปลายจมูกแข็งเกินไปหลังผ่าตัดด้วยเทคนิค septal extension graft สามารถใช้เทคนิค derotation graft ในการแก้ไขแทนได้ ซึ่งเทคนิคนี้จะทำให้ปลายจมูกนิ่ม และสามารถขยับได้

บางครั้งอาจต้องใช้ชั้นหนังแท้ของผู้ป่วย หรือเนื้อเยื่อเทียม เพื่อแก้ไขความผิดปกติของผิว หรือผิวที่บางมากจนเกินไป

ในกรณีที่ผนังกั้นโพรงจมูกยุบ แพทย์จะใช้เทคนิค L-strut reconstruction เพื่อให้ได้ทรงจมูกที่ดีและอยู่ได้นาน

เทคนิค L-strut reconstruction โดยการใช้กระดูกอ่อนซี่โครง

ผู้เขียน: Man Koon Suh, M.D.

ต้องการปรึกษาศัลยกรรมอยู่รึเปล่า?

ติดต่อที่ปรึกษาของเราได้ ที่นี่
หรือ Line Official: @jwthailand

เรามีการใช้คุกกี้เพื่อให้คุณทำสิ่งต่างๆบนเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น คุณสามารถจัดการหรือปิดการใช้งานคุกกี้ได้ที่ ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว.
ยอมรับตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

GDPR