เคยเห็นใครที่มีตาดูง่วงนอนไหมคะ? รู้หรือไม่ว่ามีศัพท์ทางการแพทย์ใช้เรียกภาวะนี้ นั่นก็คือ ‘Ptosis’ (อ่านว่า โทซิส) ซึ่งเจ้า Ptosis นี้ไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการหรือภาวะหนังตาตก ซึ่งหากเป็นมากอาจทำให้หนังตาตกลงมาจนถึงรูม่านตาและส่งผลต่อการมองเห็น ส่วนใหญ่เกิดจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการลืมตาอ่อนแรง อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ตั้งแต่แรกเกิด
สาเหตุของการเกิด ptosis:
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผิวหนังและกล้ามเนื้ออ่อนแอ
- ความพิการแต่กำเนิด (กล้ามเนื้อเสื่อม: Muscular dystrophy)
- โรคทางระบบประสาท (โรคเส้นประสาทที่เกิดจากเบาหวาน)
- โรคที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ
- ระบบกล้ามเนื้อและประสาท (Myasthenia Gravis หรือ MG)
- อาการบาดเจ็บ
- การติดเชื้อหรือเนื้องอก
เราสามารถออกกำลังกายดวงตา เพื่อช่วยลดความรุนแรงของปัญหา ptosis ได้ แต่วิธีการแก้ไขที่ดีที่สุด คือ การผ่าตัดปรับกล้ามเนื้อดวงตา (หัวข้อของเราในวันนี้) ซึ่งเป็นการผ่าตัดปรับกล้ามเนื้อตาพร้อมการทำตาสองชั้น ที่เป็นที่นิยมมากในประเทศเกาหลี
ฉันจำเป็นต้องผ่าตัดแก้ไข Ptosis หรือไม่?
คุณสามารถวินิจฉัยด้วยตัวเองได้ในเบื้องต้น ว่ามีปัญหา ptosis หรือไม่ ซึ่งนอกจากภาวะหนังตาหย่อนคล้อยที่ส่งผลต่อการมองเห็นแล้ว อาจมีอาการอื่นๆอีกดังต่อไปนี้;
- ตาแห้งรุนแรง หรือ มีน้ำตาไหลตลอดเวลา
- ใบหน้าดูเหนื่อย, ดูง่วงนอน
- ผิวหย่อนคล้อยรอบดวงตา
- ริ้วรอยบริเวณหน้าผาก เนื่องจากมีการใช้กล้ามเนื้อหน้าผากเพื่อช่วยในการลืมตา
- มีอาการปวดหัว หรือ ไมเกรนบ่อยๆ เนื่องจากหนังตาตก
การแก้ไข Ptosis คืออะไร & ทำด้วยวิธีใด?
การผ่าตัดแก้ไข ptosis มีจุดประสงค์เพื่อดึงกล้ามเนื้อตาที่หย่อนยานและลดความหย่อนคล้อยของเปลือกตา เพื่อให้มีดวงตาที่ดูสดใสมากขึ้น การแก้ไข ptosis มีอยู่สองวิธี คือ แบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ซึ่งเป็นการผ่าตัดเล็ก ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ภายใต้การฉีดยาชาหรือยานอนหลับ และไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล
วิธีการผ่าตัดขึ้นอยู่กับปัญหาของดวงตาที่แตกต่างกัน โดยมีดังต่อไปนี้;
- ปรับกล้ามเนื้อตาแบบผ่ากรีด
- ปรับกล้ามเนื้อตาแบบผ่ากรีดบางส่วน
- ปรับกล้ามเนื้อตาแบบไม่ผ่ากรีด
ปรับกล้ามเนื้อตาแบบผ่ากรีด
การปรับกล้ามเนื้อตาแบบผ่ากรีด สามารถแบ่งย่อยได้อีกหลากหลายเทคนิค ขึ้นอยู่กับปัญหาและความรุนแรงของภาวะ ptosis ในแต่ละบุคคล ซึ่งจะอธิบายคร่าวๆตามด้านล่างนี้ค่ะ
การปรับกล้ามเนื้อดวงตา หลักๆแล้วจะเป็นการลด, เพิ่มความแข็งแรง และมัดกล้ามเนื้อ levator (กล้ามเนื้อที่ใช้ในการลืมตา) โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรง
Levator muscle enhancement
วิธีการนี้ส่วนใหญ่ทำพร้อมกันกับการทำตาสองชั้น อย่างไรก็ตามบริเวณที่ทำการผ่าตัดจะค่อนข้างลึก เมื่อออกแบบทรงดวงตาที่ต้องการแล้ว จะดำเนินการขั้นตอนต่อไปนี้;
Levator Resection
เทคนิคนี้ใช้เมื่อกล้ามเนื้อ levator ทำงานไม่ปกติ เช่น ภาวะ ptosis แต่กำเนิด ซึ่งคล้ายกับเทคนิคการกระชับเอ็นแผ่ของกล้ามเนื้อ (aponeurosis)
Muller Muscle Resection
อีกเทคนิคหนึ่งที่ใช้วิธีการผ่ากรีดด้านในเปลือกตาและยกกระชับกล้ามเนื้อ Muller ด้วยการเย็บมัดกล้ามเนื้อ
ใครเหมาะสำหรับการปรับกล้ามเนื้อตาแบบผ่ากรีดบ้าง ?
- หนังตาตกลงมาบัง 1/3 ของตาดำ
- เปลือกตาหย่อนคล้อยและมีไขมันมาก
- ดวงตาไม่สมมาตรอย่างรุนแรง
- ผิวเปลือกตาหนา
การตัดไหม ส่วนใหญ่จะทำหลังผ่าตัด 7 วัน
ปรับกล้ามเนื้อตาแบบผ่ากรีดบางส่วน
อีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ได้ดวงตาที่เป็นธรรมชาติและถาวร เหมาะสำหรับผู้ที่เคยผิดหวังกับการผ่าตัดตาสองชั้นแบบเย็บจุด หรือผู้ที่มีไขมันตาหนา ซึ่งไม่เหมาะกับวิธีการเย็บจุด
วิธีการนี้จะทำผ่ากรีดเล็กๆ ประมาณ 2-3mm เพื่อกำจัดไขมันตาส่วนเกิน ซึ่งเป็นวิธีผสมผสานระหว่างการเย็บจุดและการผ่ากรีด โดยเป้าหมายหลักของวิธีการนี้คือการกำจัดไขมันส่วนเกิน (surrounded by the orbital septum) และเย็บกล้ามเนื้อ Muller กับเยื่อตา (conjunctiva) เพื่อแก้ไขภาวะ ptosis และปัญหาตาตก
ปรับกล้ามเนื้อตาแบบไม่ผ่ากรีด
การปรับกล้ามเนื้อตาแบบไม่ผ่ากรีด เป็นเทคนิคการปรับกล้ามเนื้อตาผ่านเยื่อบุตา โดยการพลิกเปลือกตา โดยแพทย์จะทำการเจาะรูบริเวณไลน์ชั้นตาและดึงกล้ามเนื้อพร้อมกับชั้นแผ่นเปลือกตา (tarsal plate)
ใครเหมาะสำหรับการปรับกล้ามเนื้อตาแบบไม่ผ่ากรีดบ้าง ?
- ภาวะ ptosis ไม่รุนแรงและยังมีแรงพอที่จะลืมตาเอง
- ตาตกเล็กน้อย
- กังวลเกี่ยวกับแผลเป็นหลังผ่าตัด
- ไขมันเปลือกตาน้อย
- เปลือกตาไม่หนาเกินไป
Ptosis Correction – The Plus Points
การผ่าตัดแก้ไข ptosis เป็นวิธีการแก้ไขที่ดีที่สุด ที่จะได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ และด้านล่างนี้เป็นข้อดีของการผ่าตัดที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
- ช่วยปรับปรุงการมองเห็นและลดความเมื่อยล้าของดวงตา
- ช่วยเพิ่มความมั่นใจเมื่อพบปะผู้คน
- ปรับปรุงคุณภาพชีวิต
- ช่วยลดปัญหาการผกผันของขนตา
- สร้างชั้นตาที่เป็นธรรมชาติ
- แผลเป็นน้อย
- สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ หลังผ่าตัด
- ผลข้างเคียงน้อย และไม่จำเป็นต้องแก้ไข หากผ่าตัดกับแพทย์ที่มีทักษะและประสบการณ์สูง
- สามารถทำพร้อมกับการทำตาสองชั้นได้
- ในระหว่างการผ่าตัดแพทย์จะตรวจสอบรูปทรงดวงตา โดยการให้หลับตา/ลืมตา ให้ผลลัพธ์มีประสิทธิภาพ
จากงานวิจัยหลังการผ่าตัดปรับกล้ามเนื้อตา 60% ช่วยให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจในตนเอง ช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และ 80% ช่วยลดความวิตกกังวล
ทักษะและความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดความสำเร็จและผลลัพธ์หลังผ่าตัด ที่ศูนย์ศัลยกรรมตา โรงพยาบาล JW ศัลยแพทย์มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 18 ปี ด้วยการให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ และเทคนิคศัลยกรรมสมัยใหม่ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ผู้ป่วยได้
การปรับกล้ามเนื้อตา โดยไม่ผ่าตัด
ในขณะที่วิธีการผ่าตัด เป็นการแก้ไขภาวะ ptosis ที่ดีที่สุด แต่การออกกำลังกายดวงตา ก็มีส่วนช่วยลดความรุนแรงของภาวะนี้ได้เช่นกัน สถาบัน National Stroke Association แนะนำให้ออกกำลังกายรอบดวงตาที่ส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อและเปลือกตา เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยควรทำทุกๆชั่วโมง
- กลอกตาเป็นวงกลม
- กลอกตาไปมา 8 ทิศ (ขึ้นลง/ซ้ายขวา/ทแยงมุม)
- ใช้แผ่นปิดตาหนึ่งข้างและใช้ตาอีกข้างโฟกัสสิ่งต่างๆ
- โฟกัสวัตถุต่างๆ ในระยะใกล้ไกล