ปรึกษาออนไลน์

วิธีการรักษาและป้องกัน ไขมันที่ฉีดไหลลงมาบริเวณตา?

จากรูปด้านบน สามารถเห็นได้ว่าผู้ป่วยมีไขมันลงมาบริเวณเปลือกตา ซึ่งผู้ป่วยรายนี้ได้ทำการฉีดไขมันจากคลีนิคอื่นมา ประมาณ 5 เดือนที่แล้ว และผลข้างเคียงคือไขมันที่ฉีดไปไหลลงมายังบริเวณเปลือกตา แม้ผลข้างเคียงนี้แทบจะไม่เกิดขึ้น แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย เราเรียกอาการนี้ว่า “Periorbital lipogranuloma”

เมื่อเร็วๆนี้ ศัลยแพทย์คังฮงแด จากโรงพยาบาล JW ผู้เชี่ยวชาญด้านการศัลยกรรมตาและศัลยกรรมชะลอวัย ได้กล่าวบรรยายให้แก่ศัลยแพทย์จากต่างประเทศ ในงาน APS (Aesthetic Plastic Surgery) 2017 จัดขึ้นที่ COEX กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ในวันที่ 2 เมษายน

ในปัจจุบันคลีนิคและโรงพยาบาลศัลยกรรมหลายแห่ง มีการดำเนินการปลูกถ่ายไขมัน เพื่อเพิ่มวอลลุ่มให้ใบหน้า เนื่องจากเป็นวิธีการที่สามารถทำได้ง่าย ผลข้างเคียงน้อย ไม่เกิดอาการแพ้ เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยสารสังเคราะห์ เช่น ฟิลเลอร์ แต่ในบางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นได้เช่นกัน เช่น อาการบวมน้ำ, ไขมันจับตัวเป็นก้อน, ผิวไม่เรียบเนียน ฯลฯ ซึ่ง ดร.คัง ได้กล่าวบรรยายเกี่ยวกับ Lipogranuloma

คำจำกัดความของ Lipogranuloma คือ “อาการอักเสบที่เกิดขึ้นในชั้นหนังแท้และเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ที่เกิดขึ้นได้ยากมาก” นั่นหมายความว่าไขมันที่ฉีดเข้าไปสามารถไหลเข้าไปในชั้นหนังแท้ได้

สาเหตุการเกิด lipogranuloma ?

เราสามารถแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุ ดังนี้

  1. กลไกภายนอก (Exogenous mechanism): ปฏิกิริยาต่อต้านต่อสิ่งแปลกปลอมของร่างกายต่อสารคล้ายไขมันหรือน้ำมัน เช่น พาราฟิน และ ซิลิโคน
  2. กลไกภายใน (Endogenous mechanism): การเสื่อมสภาพของไขมัน เนื่องจากติดเชื้อ, อาการบาดเจ็บ, อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงสุดขั้ว หรือปฏิกิริยาการแพ้

เปลือกตาบนและล่าง ประกอบไปด้วย superficial และ deep galea (ซึ่งแบ่งเป็นส่วนด้านหน้าและด้านหลัง และยังถูกปกคลุมไปด้วยแผ่นไขมัน galea) และยังมีเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อซึ่งกันและกันอยู่

นั่นเป็นเหตุผลที่เราควรฉีดไขมันที่สดใหม่ แทนไขมันที่ถูกแช่แข็ง การใช้ไขมันแช่แข็งจะเพิ่มอัตราการเกิด lipogranuloma เนื่องจากไขมันจะหายไป เพราะไขมันสดที่ถูกแช่แข็งภายใต้อุณหภูมิ -20 องศา จะเกิดผลึกน้ำแข็งขึ้นภายในเซลล์ (intracellular ice formation) และเกิดเซลล์จะเสียหายประมาณ 92.7% จากการเผาผลาญของร่างกาย

อย่างเช่นผู้ป่วยในรูปที่ฉีดไขมันมาจากที่อื่น และเกิดภาวะ “periorbital lipogranuloma”

ดังนั้น ดร.คังฮงแด จึงดำเนินการผ่าตัดก้อนเนื้อส่วนเกินออกและศัลยกรรมตกแต่งตาล่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งจากในรูปผู้ป่วยมีก้อนไขมันค่อนข้างใหญ่บริเวณตาล่างด้านซ้าย

เรามีการใช้คุกกี้เพื่อให้คุณทำสิ่งต่างๆบนเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น คุณสามารถจัดการหรือปิดการใช้งานคุกกี้ได้ที่ ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว.
ยอมรับตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

GDPR