คุณควรเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขจมูก หากคุณกำลังประสบปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ทรงจมูกแตกต่างจากความต้องการที่คาดหวัง, ดั้งจมูกสูงเกินไป, ปลายจมูกแหลมมากเกินไป หรือ ผิวหนังบางจนเห็นวัสดุเสริมภายใน, วัสดุเสริมเกิดการเสียหาย หรือจมูกเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ ฯลฯ
การผ่าตัดแก้ไขจมูก จำเป็นต้องใช้เทคนิคและประสบการณ์ที่มากกว่าการเสริมจมูกในเคสทั่วๆไป ดังนั้นคุณควรเข้ารับการผ่าตัดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์สูง
ส่วนใหญ่ผู้ที่เข้ารับการศัลยกรรมจมูกส่วนใหญ่ มักจะไม่เข้ารับการผ่าตัดแก้ไขเมื่อมีปัญหา เนื่องจากคิดว่ามีความเสี่ยงเกินไป และไม่ไว้ใจในการผ่าตัดครั้งใหม่ เนื่องจากความผิดหวังจากการผ่าตัดครั้งก่อนหน้า
อย่างไรก็ตามเราอยากให้คุณเปลี่ยนความคิดนี้ใหม่ และมั่นใจ เชื่อใจในการเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขเพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
ไม่ว่าเหตุผลที่จะเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขของคุณคืออะไร เราแนะนำให้คนไข้เข้ารับการผ่าตัด ภายใน 1-2 สัปดาห์หลังการผ่าตัดครั้งแรก มิฉะนั้นคุณจะต้องรออย่างน้อย 6 เดือน (และอาจมากกว่า 1 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพจมูกของแต่ละบุคคล) ก่อนจะเข้ารับการผ่าตัดครั้งต่อไป เนื่องจากจำเป็นต้องให้เวลาเนื้อเยื่อบริเวณที่ได้รับการผ่าตัดได้ฟื้นฟูเต็มที่
ปัจจัยปัญหาที่คุณควรได้รับการผ่าตัดแก้ไขทันที หลังการผ่าตัดในครั้งแรก มีดังต่อไปนี้
แพทย์จะทำการกำจัดเอาวัสดุเสริมเดิมที่เบี้ยว หรือ ไม่พอดีกับฐานจมูกออก แล้วใส่วัสดุเสริมใหม่ที่ปรับแต่งทรงเรียบร้อย และหากผู้ป่วยมีผิวจมูกที่บาง แพทย์อาจทำการเสริมด้วยหนังแท้ของผู้ป่วยเอง, หนังเทียมทางการแพทย์ หรือ Fascia
วัสดุเสริมสามารถที่จะขยับได้ หากทำการเสริมภายใต้ชั้นผิวหนัง ในกรณีนี้แพทย์จะทำการแก้ไข โดยการวางวัสดุเสริมใต้ fascia ของกระดูกจมูก ทำให้วัสดุสามารถยึดติดกับที่ได้อย่างแม่นยำ อย่างไรก็ตามหาก fascia ได้รับความเสียหายแล้ว จะทำให้ไม่สามารถยึดวัสดุเสริมได้อย่างแน่นหนา แพทย์จะทำการใช้ Gore-tex หรือการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ แทนการเสริมด้วยซิลิโคน
วัสดุเสริมสามารถมองเห็นได้ หากผู้ป่วยมีผิวหนังที่บาง แพทย์จะทำการเสริมความหนาของเนื้อบริเวณจมูก โดยการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อจากตัวผู้ป่วยเองหรือเนื้อเยื่อเทียม และหากสภาพจมูกของผู้ป่วยไม่ดี แพทย์จะเอาซิลิโคนออกและใช้เฉพาะวัสดุเสริมที่มาจากตัวผู้ป่วยเอง เช่น ชั้นหนังแท้ กระดูกอ่อนซี่โครง เป็นต้น
ผิวที่เปลี่ยนเป็นสีแดงหรือใส เกิดจากการไหลเวียนโลหิตไม่ดี เนื่องจากผิวหนังบางลงหลังผ่าตัด หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที จะทำให้ผิวหนังยิ่งบางขึ้นและซิลิโคนภายในอาจทะลุ แพทย์จะทำการกำจัดซิลิโคน หรือกระดูกอ่อนที่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ และเสริมผิวหนังด้วยชั้นหนังแท้ของผู้ป่วยหรือเนื้อเยื่อเทียม
ทรงจมูกที่ดูไม่เหมาะสม เนื่องจากความแตกต่างระหว่างความกว้างของวัสดุเสริม และความกว้างของกระดูกจมูกผู้ป่วย แพทย์จะทำการเปลี่ยนซิลิโคนที่มีขนาดและรูปทรงที่เหมาะสม พร้อมทั้งเสริมความแข็งแรงของผิวจมูกโดยการปลูกถ่ายผิวหนังบริเวณดั้งจมูก ด้วยชั้นหนังแท้, เนื้อเยื่อเทียม หรือ fascia
สำหรับจมูกที่หด เชิด แพทย์จะใช้เทคนิคการปลูกถ่ายกระดูกอ่อนภายในจมูกหรือกระดูกอ่อนซี่โครงจากตัวผู้ป่วยเอง โดยจะทำการคลายเนื้อเยื่อที่ยึดเกาะกันเป็นพังผืดออก และยืดปลายจมูกลง ให้ได้สัดส่วนความยาวและรูปทรงตามปกติ และยึดทรงจมูกไว้ด้วยกระดูกอ่อนภายในจมูก หรือกระดูกอ่อนซี่โครง
รอยต่อระหว่างวัสดุเสริมและจมูก จะเห็นชัดโดยเฉพาะเวลายิ้ม แพทย์จะแก้ไขปัญหานี้โดยการใช้วัสดุเสริมที่มีความยาวมากขึ้นและเหลาวัสดุเสริมช่วงปลายจมูกให้บางลง เพื่อไม่ให้แตกต่างกับผิวบริเวณปลายจมูก
สารแปลกปลอมที่ฉีดเข้าไปไม่สามารถกำจัดออกได้ทั้งหมด 100% อย่างไรก็ตาม แพทย์จะพยายามกำจัดสารแปลกปลอมออกไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นจะเสริมด้วยกระดูกอ่อนจากตัวผู้ป่วยเอง
ความยากง่ายของการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับการกระจายของสารแปลกปลอมที่ฉีดเข้าไปในร่างกาย เพราะฉะนั้นควรเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขกับศัลยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง
มีความเป็นไปได้สูงที่ ฮัมพ์ หรือ ปุ่มกระดูกที่นูนขึ้นมา ลักษณะคล้ายหลังอูฐ จะกลับมาโก่งเหมือนเดิมหรือปลายจมูกตก ทำให้ทรงจมูกกลับไปเหมือนกับเวลาที่มีฮัมพ์อยู่ แพทย์จะทำการแก้ไขโดยการตัดกล้ามเนื้อที่ยึดช่วงปลายจมูก ทำให้ปลายจมูกยกขึ้น
เมื่อกำจัดฮัมพ์มากเกินไป กระดูกจมูกจะเป็นโพรง ทำให้ช่วงกลางสันจมูกเป็นหลุมลงไป แพทย์จะทำการแก้ไขด้วยการปลูกถ่ายกระดูกอ่อน หรือ เนื้อเยื่อจากตัวผู้ป่วย
ในกรณีที่วัสดุเสริมยาวไปจนถึงปลายจมูก จะทำให้ปลายจมูกแหลมและแข็งเกินไป แพทย์จะทำการแก้ไขให้ปลายจมูกเป็นธรรมชาติมากขึ้น โดยการเปลี่ยนวัสดุเสริมที่มีขนาดเหมาะสม ไม่ยาวถึงปลายจมูก
อาการแพ้ซิลิโคน เป็นอาการที่พบได้ไม่บ่อยนัก โดยผู้ป่วยจะมีปลายจมูกบวมแดง, มีอาการบวมซ้ำแล้วซ้ำอีก, บริเวณที่บวมจะอ่อนนิ่ม และบริเวณผิวหนังที่ผ่าตัดจะกลายเป็นสีแดง ในกรณีนี้แพทย์จะทำการถอดซิลิโคนออกและเปลี่ยนใส่วัสดุใหม่ที่มีความปลอดภัย
เส้นรอยต่อระหว่างกระดูกจมูกและกระดูกอ่อนจมูก มีลักษณะเป็นตัว V คว่ำ เนื่องจากหลังการผ่าตัดลดฮัมพ์ กระดูกอ่อนจมูกจะแคบลงเข้าด้านใน เมื่อเทียบกับกระดูกจมูก นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการบาดเจ็บของจมูกได้อีกด้วย แพทย์จะแก้ไขโดยการปลูกถ่ายกระดูกอ่อนภายในจมูก
ดั้งจมูกยุบ เกิดขึ้นหลังการผ่าตัดกระดูกอ่อนภายในจมูก และกระดูกอ่อนจมูกยุบตัวลง ทำให้ช่วงกึ่งกลางของดั้งจมูกยุบเป็นหลุม แพทย์จะเลือกวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมกับความรุนแรงของปัญหา โดยการใช้กระดูกอ่อนหลังหู หรือ กระดูกอ่อนซี่โครงผู้ป่วย
หากกระดูกอ่อนช่วงปลายจมูกภายในยุบตัวลง เวลาหายใจเข้า จะทำให้คนไข้หายใจลำบาก เนื่องจากกระดูกอ่อนปิดรูจมูก การผ่าตัดแก้ไขในกรณีนี้จะเป็นไปเพื่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ไม่ใช่เพื่อความสวยงาม โดนแพทย์จะทำการเสริมปลายจมูกด้วยกระดูกอ่อนใบหู เพื่อช่วยยกกระดูกอ่อนจมูก
ความสูงของดั้งจมูก สามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ป่วย ซึ่งเป็นปัญหาการผ่าตัดที่ง่ายเมื่อเทียบกับปัญหาอื่นๆ
ผู้ป่วยแต่ละคนมีความชอบที่แตกต่างกันไป บางคนชอบทรงจมูกที่มีลักษณะตรง บางคนชอบทรงจมูกที่โค้งงอนขึ้นเหมือนบาร์บี้ แพทย์จะทำการแก้ไขโดยการปรับทรงของวัสดุเสริม และในบางรายแพทย์อาจทำการผ่าตัดเพิ่ม เพื่อลดหรือเพิ่มความสูงของปลายจมูก
ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดปัญหาผนังกั้นโพรงจมูกเบี้ยว หรือปัญหา turbinate แพทย์จะทำการประเมินอาการและตรวจภายในจมูกอย่างละเอียด
Turbinate เกิดจากกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน ซึ่งสามารถขยายใหญ่ขึ้นได้ เมื่อ turbinate บวมใหญ่ขึ้น เราเรียกว่า hypertrophic turbinates ซึ่งอาจอุดตันรูจมูก ทำให้หายใจไม่สะดวก แพทย์จะทำการผ่าตัดลดขนาด turbinate เพื่อแก้ไขปัญหาทางสุขภาพ
Internal nasal valve เป็นส่วนที่คล้ายร่องระหว่างผนังกั้นโพรงจมูกและส่วนขอบของกระดูกอ่อนจมูกส่วนบน ซึ่งปัญหาจมูกบีบเข้าหากันอาจเกิดจากปัญหาผนังกั้นโพรงจมูกส่วนบนเบี้ยว และกระดูกอ่อนข้างๆยุบตัวลง และส่วน External nasal valve เป็นบริเวณที่มีพื้นที่และวอลลุ่มมากกว่า Internal nasal valve การกำจัดกระดูกอ่อนปลายจมูกมากเกินไป ในระหว่างการผ่าตัดอาจทำให้ส่วน External nasal valve ยุบตัวลง
เทคนิคการผ่าตัดแก้ไขปัญหานี้ คือ การปลูกถ่ายกระดูกอ่อนปลายจมูก คือ alar rim graft, alar batten graft, lateral crural onlay graft และ lateral crural strut graft
ปลายจมูกแหลม เป็นลักษณะปลายจมูกที่ไม่สวยงาม โดยปลายจมูกมีความแคบ แหลม และร่องบริเวณปีกจมูกมีความลึก ปัญหาเหล่านี้เกิดจากกระดูกอ่อนจมูกส่วนล่างไม่แข็งแรง, ยุบตัวลง หรือ อยู่ผิดตำแหน่ง จากการผ่าตัดครั้งก่อนหน้า หรือการบาดเจ็บบริเวณจมูก
ปัญหาปลายจมูกแหลมนี้ อาจทำให้เกิดปัญหาการหายใจไม่สะดวก เนื่องจากการยุบตัวของจมูกภายนอก แพทย์จะทำการแก้ไขใช้เทคนิค cartilage batten graft, alar rim graft หรือ lateral crural graft
ปลายจมูกที่ไม่สมมาตรหลังการผ่าตัด มักจะมาพร้อมกับปัญหา columellar เบี้ยว และความไม่สมดุลของรูจมูก แพทย์จะใช้เทคนิคการแก้ไขที่แตกต่างกันไปตามสาเหตุของปัญหา
การศัลยกรรมแก้ไขจมูก
จำเป็นต้องใช้เทคนิคและประสบการณ์ที่หลากหลายของศัลยแพทย์